วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ubuntu


ขั้นตอนการติดตั้ง


ทำการบูต Server ด้วยแผ่น DVD MultiWAN


จะปรากฏจอภาพเลือกภาษา ให้เลือก English


ทำการติดตั้ง MultiWAN Server แบบ Express Mode


โปรแกรมจะทำการตรวจสอบ Hardware ต่างๆ ภายในเครื่อง


ให้ทำการเลือก LAN Interface


กำหนด IP Address ของเครื่อง Server เสร็จแล้วกด TAB เลือก Continue


กำหนด Sub Netmask


กำหนด Gateway (เลข ip ใดก็ได้)


กำหนด Name Server Address (เลข ip ใดก็ได้)


ตั้งชื่อเครื่อง Server


กำหนด Domain Name


เมื่อเสร็จแล้วโปรแกรมจะทำการแบ่ง Partition และ Format HDD ให้เองอัตโนมัติ


และทำการติดตั้ง Base System


ให้กำหนดชื่อเต็มของ user ที่จะทำการ remote


กำหนดชื่อที่ใช้สำหรับ Login


กำหนด Password


พิมพ์ Passsword ทวนอีกครั้ง


เสร็จแล้วโปรแกรมจะทำการติดตั้ง Software


กำหนด Password สำหรับ MySQL (จะต้องจำให้ดี)


พิมพ์ Password MySQL ทวนอีกครั้ง


เสร็จแล้วโปรแกรมก็จะทำการก๊อปปี้ไฟล์ต่าง ๆ ที่จำเป็นลง HDD


เมื่อเสร็จตามขั้นตอนแล้วแผ่น DVD จะเด้งออกมา ให้เอาแผ่นออกแล้วกด Enter


ในการ Reboot ครั้งแรก โปรแกรมจะติดตั้ง Kernel ใหม่
พร้อมกับ Software เสริมต่าง ๆ ให้เองโดยอัตโนมัติ


เมื่อติดตั้ง Kernel เสร็จ Server จะ Reboot เองอัตโนมัติ
แล้วจะแสดงหน้าจอพร้อม Login เป็นการเสร็จขั้นตอนการติดตั้ง

ผมติดค้างเรื่อง Ubuntu ลินิกซ์ยอดเยี่ยมประจำปี 2004 มาหลายตอนทีเดียวครับ ว่าจะเขียนถึงหลายทีแล้ว แต่ก็เจอเหตุการณ์ที่ฮอตกว่าอย่างลินิกซ์ทะเล 7.0 มาตัดหน้า คราวนี้เรามาดู Ubuntu กันเสียที
หลายคนคงงงว่าลินิกซ์ชื่อประหลาดอย่างนี้มาได้อย่างไร ไม่เคยได้ยินมาก่อน Ubuntu เป็นลินิกซ์หน้าใหม่ที่เพิ่งจะถือกำเนิดมาในปีที่แล้ว แต่ความร้อนแรงของมันเรียกได้ว่าสุดๆ เพราะหลังจากออกเวอร์ชั่นตัวจริงรุ่นแรกมาในเดือนตุลาคม เวลาสี่เดือนจากนั้นนับจนสิ้นปี ก็เพียงพอที่จะทำให้ Ubuntu ได้รางวัลลินิกซ์แห่งปีของเวบไซต์ Ars Technica ไปครอง
รางวัลเดียวยังไม่พอครับ อีกสองรางวัลนอกจากนั้นคือลินิกซ์หน้าใหม่ยอดเยี่ยม และชุมชนผู้ใช้ยอดเยี่ยม เรียกว่าไม่ธรรมดาเลยล่ะ เริ่มจะสนใจขึ้นมารึยังครับ
คำว่า Ubuntu อ่านว่า "อูบุนตู" เป็นภาษาซูลูที่ว่ากันว่ามีความหมายสวยเกินกว่าจะแปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษได้ คำที่ใกล้เคียงที่สุดคือ Humanity to others หรือ Being with others ผมไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยให้สวยๆ ว่าอย่างไรดีเหมือนกัน จะเป็นลินิกซ์เพื่อมนุษยชาติก็จะดูเกินตัวไปนิด ลินิกซ์เอื้ออาทรก็ไม่ไหว เพราะคำว่าเอื้ออาทรในบ้านเรามีความหมายกลายเป็นแจกคนจนไปเสียแล้ว แปลว่าลินิกซ์แห่งมิตรภาพคงพอใช้ได้นะครับ
ทีนี้มาดูว่าจุดขายของ Ubuntu มีอะไรถึงได้โดนใจขนาดนี้ อันแรก Ubuntu จะออกทุกๆ 6 เดือนครับ หมายความว่าปีละสองครั้ง และหมายความอีกว่าคุณจะได้ใช้โปรแกรมใหม่สุดๆ ใน Ubuntu ตัวล่าสุด แต่มันก็ไม่น่าตื่นเต้นอะไรมากเพราะว่าปัจจุบัน Fedora ก็ออกทุก 6 เดือนเช่นกัน
จุดขายข้อถัดมาคือ Ubuntu พัฒนามาจาก Debian ซึ่งเป็นลินิกซ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงสำหรับผู้ใช้ระดับสูง แปลให้เข้าใจง่ายๆ คือผู้ใช้ Ubuntu จะมีโปรแกรมจำนวนมหาศาล (เกือบ 8 พันโปรแกรม) ที่รวบรวมโดยนักพัฒนาของ Debian ได้ทันที ซึ่งผมเคยเขียนถึงไปแล้วว่า Repository หรือคลังเก็บซอฟต์แวร์ที่ใช้บน Debian ได้เป็นคลังที่ใหญ่ที่สุด อัพเดทเร็วที่สุด และมีคุณภาพดีที่สุดในโลกของลินิกซ์ ขอเพียงแค่มีเน็ตแรงๆ เราก็จะสามารถลงโปรแกรมได้ในคำสั่งเดียว
ผู้ใช้ลินิกซ์อาจเบื่อกับโปรแกรมอะไรก็ไม่รู้ที่ให้มาเต็มไปหมดใช่มั้ยครับ มีโปรแกรมเยอะก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป Fedora ไม่ค่อยประทับใจผู้ใช้หน้าใหม่ก็เพราะให้บราวเซอร์มาสามสี่ตัว โปรแกรมอีเมลอีกสาม และเวิร์ดโปรเซสเซอร์อย่างต่ำๆ ก็สองตัว จะเลือกใช้อันไหนดี อันไหนดีกว่าอันไหน กลายเป็นปัญหาที่น่าเวียนหัว
Ubuntu มองถึงปัญหาเหล่านี้ และเลือกโปรแกรมมาให้เป็นอย่างดี Ubuntu เลือกใช้ GNOME เป็นเดสก์ทอปหลัก Firefox เป็นบราวเซอร์ และ Evolution เป็นโปรแกรมอีเมลไคลเอนท์
ด้วยการเลือกโปรแกรมแต่พอดีแบบนี้ ทำให้ Ubuntu บรรจุลงได้ในซีดีแผ่นเดียวเท่านั้น (จริงๆ ไม่เต็มแผ่นด้วยซ้ำ) ในขณะที่ลินิกซ์ตัวอื่นๆ เราต้องใช้กันถึงสามแผ่นหรือบางครั้งเป็นแผ่นดีวีดีกันเลย
ข้อสุดท้ายอาจไม่ค่อยเกี่ยวกับผู้ใช้บ้านเรานัก นั่นคือการสนับสนุนหลังขายครับ Fedora นั้นไม่มีการสนับสนุนหลังการขายจาก Red Hat แต่อย่างใด ถ้าเราต้องการบริการในส่วนนี้ก็จำเป็นต้องซื้อ Red Hat Enterprise Linux ที่ราคาแพงหูฉี่แทน Mandrake หรือ SuSE ก็ไม่ต่างกันนัก รุ่นที่แจกฟรีก็แทบไม่มีอะไร รุ่นที่ขายก็ราคาแพงทีเดียว ถ้ามองไปถึงลินิกซ์ที่ฟรีจริงๆ ไม่เชิงการค้าอย่างเช่น Debian, Slackware หรือ Gentoo ก็ยากที่จะมีบริการแบบนี้ แต่ Ubuntu มีครับ ถึงแม้ว่าตัว Ubuntu จะฟรีจริงๆ แต่ถ้าอยากได้ บริษัท Canonical ที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาก็มีให้ในราคาที่พอรับไหว แต่ผมว่าบ้านเราคงไม่สนใจเรื่องนี้กันเท่าไรนะ
หลังจากได้รับรู้ข้อดีครบแล้ว ก็มาลองเล่นกันเลย วิธีการก็ไม่มีอะไรมาก ดาวน์โหลด ISO ซีดีจากเวบไซต์ของ Ubuntu ที่ www.ubuntu.com มาไรต์ลงซีดี แล้วติดตั้งตามปกติ ขั้นตอนการติดตั้งอาจดูยากเล็กน้อยเพราะเป็นเท็กซ์โหมดแต่ก็ไม่มีอะไรมากครั บ หลังจากนั้นก็จะพบกับหน้าจอล็อกอินสวยๆ ตามภาพ
หน้าตารวมๆ ของ Ubuntu จะออกไปโทนสีน้ำตาลทั้งหมด นับว่าหาได้ยากสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Ubuntu นำความหมาย Humanity มาตั้งเป็นชื่อธีมว่า Human และคุณจะพบว่าทุกสิ่งที่เห็นในหน้าจอนั้นอยู่ใต้ธีม Human ทั้งสิ้น
ด้วยปัญหาด้านสิทธิบัตรที่เลวร้ายขึ้นทุกวัน ทำให้ลินิกซ์หลายๆ ค่ายไม่ได้ให้โปรแกรมที่เสี่ยงกับการละเมิดสิทธิบัตรมาด้วย เช่น เอ็มพีสามหรือการเล่นดีวีดี รวมไปถึงปลั๊กอินที่ไม่โอเพ่นซอร์สอย่างจาวา และแฟลช ไม่ว่าจะเป็น Fedora หรือลินิกซ์ทะเลก็ตาม Ubuntu ก็ไม่ยกเว้น แต่ผู้ใช้ก็สามารถดาวน์โหลดส่วนเพิ่มเติมเหล่านี้ได้เองอย่างง่ายๆ ตามวิธีการในเวบไซต์ของ Ubuntu ซึ่งเขียนไว้อย่างละเอียด
การที่ Ubuntu ได้รางวัลชุมชนผู้ใช้ยอดเยี่ยมไม่ใช่เรื่องบังเอิญครับ เวบบอร์ดของ Ubuntu นั้นคนเข้าเยอะและเป็นมิตรต่อผู้ใช้หน้าใหม่ๆ มากทีเดียว เอกสารบนเวบไซต์ก็เรียกได้ว่าละเอียดมากๆ ผมสามารถลงโปรแกรมแปลกๆ ที่ไม่น่าจะลงได้สำเร็จก็เพราะเอกสารที่มีคนเขียนไว้ในเวบนี่เอง
ก่อนที่จะมีคนงงเรื่องเลขเวอร์ชั่นของ Ubuntu ผมขออธิบายก่อนครับ เวอร์ชั่นแรกของ Ubuntu คือ 4.10 หมายความว่าออกปี 04 เดือน 10 มีรหัสว่า Warty Warthog (Warthog คือหมูป่า) เวอร์ชั่นถัดไปจะเป็น 5.04 ซึ่งเราทำนายได้เลยว่ามันจะออกเดือนเมษายนนี้ และเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ความประทับใจของผมต่อ Ubuntu นี่ถือว่าดีมาก ทุกวันนี้ผมเลิกใช้ Fedora และหันมาใช้ Ubuntu แทนแล้ว แค่ซีดีแผ่นเดียวขนาดไม่ใหญ่นักก็คุ้มที่จะลองเอามาเล่นดูครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น