วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์เซตราคา


mATX Tsunami Black Magic (Black-Red)
  • 580 Watts.2 Fan 8cm. 12cm.
  • Size 370x162 x 370 mm.
  • SGCC 0.5mm
ราคา 1,050 บาท ประกัน 1Y

Core2 Duo E8200 + Fan (2.66GHz.)
  • Model:Core2 Duo E8200 + Fan (2.66GHz.) 
  • Processors Type:E8200
  • CPU Socket Type:LGA775
ราคา 3,400 บาท ประกัน 3Y

INTEL D525MW + CPU Atom 1.80GHz. B/P
  •   Model:INTEL D525MW + CPU Atom 1.80GHz. B/P
  •   CPU Support:โปรเซสเซอร์ Intel® Atom™ D525
  •   Chipset:ชิปเซ็ต Intel® NM10 Express

ราคา 2,450 บาท ประกัน 3Y

DDR2(800) 2GB. Kingston 'Ingram/Synnex'
  • DDR2 SDRAM
ราคา 740 บาท ประกัน L/T

500 GB (NoteBook-SATA-II) Hitachi 7MM. (Svoa)
SOS
  • Model:HTS545050A7E380
  • Capacity:500 GB
  • Buffer size:8MB
ราคา 1,700 บาท ประกัน 3Y

Enclosure Box 3.5'' IDE+SATA RA029 (Black)
  • Model : Enclosure Box 3.5'' IDE+SATA RA029
  • Interface : USB 2.0/IEEE 1394
  • Support : HDD แบบ:IDE, SATA
  • Max HDD : Support:400 GB
  • Transfer rate : 480/400 Mbps
  • <S< li>

(SATA/BOX) DVD RW BLU-RAY10X LG #BH10+LS (DCOM)
  • TYPE : SuperMulti Blue Internal SATA 10x Blu-ray Disc Rewriter
  • TRANSFER RATES–WRITE
    BD-R (SL/DL) 2x, 4x CLV,
ราคา 3,680 บาท ประกัน 1Y

LCD Square 17" BENQ G702AD (B)
  • ขนาดหน้าจอ 17.0"
  • อัตราส่วน 5:4
  • ความละเอียด (สูงสุด) 1280x1024(SXGA)
  • ระยะห่างระหว่างจุดภาพ 0.264
  • ความสว่าง 250 cd/m^2
  • คอนทราสต์ 1000:1
  • DCR (Dynamic Contrast Ratio) (typ.) 10000:1
  • Panel Type TN
ราคา 3,050 บาท ประกัน 3Y

POWER (FULL) 650W. DTECH (DT-550/PW047) (Box/Cable)
  • Power Supply  650Watt  DTECH
  • Power 24 Pins 1 Port
  • <FONT< li>
ราคา 1,290 บาท ประกัน 3Y

mATX ITSonas ione-Flower
•Model : ITSONAS i-one mini CASE fantasty
มาพร้อมกับPower Supply 500W พัดลม 8 ซม  with USBx2รองรับทุกความต้องการ
โครงเหล็ก SECC 0.6 มม. แข็งแรงทนทาน
พัดลม 6 ซม 2ตัว สามารถใส่VGAfh
ราคา 880 บาท ประกัน 1Y
USB Keyboard GIGBYTE (K8100) Gaming Black
  • Model:USB Keyboard GIGBYTE (K8100) Gaming Black
  •   Interface:USB
  •   Keys Windows Layout:112 Keys
ราคา 2,300 บาท ประกัน 1Y


External Card Reader All in 1 (230) 'Three Boy'
  •   Model:External Card Reader All in 1 (230) 'Three Boy'
  •   Interface:USB 2.0
ราคา 115 บาท ประกัน 1Y
Ribbon EPSON LQ-1170,LQ-300 (Remanu)
  • Refill LQ-1170 (เทียบเท่า)
  • LQ-300/570/1070/1170
ราคา 50 บาท ประกัน
Webcam OKER 052 (Gray)

  • ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ระบบเซนเซอร์แบบ Cmos
  • สามารถจับ จอภาพบน window ใหญ่สุดถึง 4608*3456
  • ระบบประมวลผลภาพจะไม่จะมีการบีบอัดข้อมูลเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง
  • มีระบบประ ความสมดุลของภาพเพื่อให้ใด้สีเป็น ธรรมชาติและสมจริง
  • โหมดวีดีโอแบบ RGB24
<
ราคา 450 บาท ประกัน 1Y

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

f d i s k

    การจัดพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ คือ ขั้นตอนของการจัดรูปแบบการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ ก่อนขั้นตอนการฟอร์แมต โดยที่เราสามารถทำการแบ่ง ฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นขนาดต่างๆ เพื่อกำหนดให้ใช้งานได้ในแต่ละ Drive เพื่อความเป็นระเบียบของข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ขนาดเต็ม 8 GB อาจจะทำการแบ่งออกเป็น Drive C: ขนาด 3 GB เพื่อใช้สำหรับลง Windows และซอฟต์แวร์ต่างๆ และทำการแบ่งเป็น Drive D: อีกส่วนหนึ่งโดยให้มีขนาดเป็น 5 GB เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น
ช นิ ด ข อ ง พ า ร์ ติ ชั่ น
แบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้
FAT16
เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ DOS, Windows 3.1 และ Windows 95 รุ่นแรกๆ จะรองรับขนาดของพาร์ติชันได้สูงสุดที่ 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชั่นเท่านั้น
FAT32
เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows 97 OSR2 และ Windows 98 สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชันได้จาก 512 KB ไปจนถึง 64 GB ต่อ 1 พาร์ติชัน
NTFS
เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows NT
ดังนั้น หากจะทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน ให้ใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่ขนาดมากกว่า 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชันก็ต้องทำการสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการจัดแบ่ง พาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์ แบบง่าย ๆ ก็คือโปรแกรม FDISK ที่มีมาให้กับ Windows 98 นั่นเอง โดยที่ต้องอย่าลืมว่า การใช้ FDISK จาก Windows 98 จะสามารถสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ได้ แต่ถ้าหากเป็น FDISK ที่มากับ Windows 95 หรือของ DOS จะสามารถทำได้เฉพาะระบบ FAT16 เท่านั้นไม่สามารถทำเป็น FAT32 ได้
ขั้ น ต อ น ก า ร F D I S K มี ดั ง นี้
1. คำสั่ง FDISK จะสามารถหาได้จากแผ่น Windows 98 Start Up Disk ถ้าหากยังไม่มี ต้องทำการสร้างแผ่น Windows 98 Startup Disk ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้น จึงทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการบูทเครื่องจากแผ่น Windows 98 Startup Disk จากนั้น พิมพ์คำสั่ง fdisk แล้วกด Enter จะได้ดังรูป
2. ถ้าฮาร์ดดิสก์มีขนาดใหญ่มากกว่า 512MB จะมีคำถามว่าต้องการสร้างพาร์ติชันขนาดใหญ่หรือไม่ หรือเป็นการถามว่า ต้องการใช้งานแบบ FAT32 หรือไม่นั่นเอง หากตอบ [N] ก็จะเป็นการกำหนดให้ใช้งานแบบ FAT16 หรือเหมือนกับการใช้ FDISK ของ DOS หรือ Windows 95 รุ่นเก่าไป แต่ถ้าต้องการแบ่งพาร์ติชันแบบ FAT32 ก็ให้กด [Y]
3. เมนูหลักสำหรับการใช้งานแบบต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะมีแค่ 4 รายการ แต่ถ้าหากมีการต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัว จะมีเมนูที่ 5 คือ Change current fixed disk drive สำหรับเลือกว่าจะทำงานกับฮาร์ดดิสก์ตัวไหนให้เลือกด้วย การแสดงข้อมูลของพาร์ติชันต่าง ๆ ทำโดยเลือกที่เมนู Display partition information
4. เมนูของการแสดงพาร์ติชัน (เลือกจากเมนู 4. จากเมนูหลัก) จะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของพาร์ติชัน ในฮาร์ดดิสก์ จะเห็นรายละเอียดและการกำหนดรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการจัดแบ่งขนาดต่าง ๆ ด้วย ในกรณีที่เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ยังไม่ได้ทำการจัดพาร์ติชัน ก็จะไม่มีข้อมูลแสดงให้เห็น เราสามารถกดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลัก
5. เมนูของการลบพาร์ติชัน (เลือกเมนู 2. จากเมนูหลัก) จะมีเมนูให้เลือกรายการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ซึ่งขออธิบายความหมายของแต่ละพาร์ติชัน ดังนี้ 
Primary DOS Partitionเป็นพาร์ติชันหลักของฮาร์ดดิสก์
Extended DOS Partitionเป็นพาร์ติชันถัดไปของฮาร์ดดิสก์
Logical DOS Drive(s)จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่งสามารถกำหนดการสร้างได้หลาย ๆ Drive ตามต้องการ
Non-DOS Partitionเป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ DOS
  ในการลบพาร์ติชัน จะต้องทำการลบโดยเรียงลำดับข้อมูลด้วย เช่นต้องลบ Logical DOS Drive ออกให้หมดก่อนจึงจะลบ Extended DOS Partition ได้ และหลังจากนั้น จึงทำการลบ Primary DOS Partition ตามลำดับต่อไป
6. หากทำการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ในพาร์ติชันนั้น ๆ จะหายไปหมด ดังนั้นเมื่อจะทำการลบพาร์ติชัน จะมีการถามยืนยันการลบ โดยให้ใส่ Volume Label ของฮาร์ดดิสก์นั้นก่อนด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการลบข้อมูล โดยไม่ได้ตั้งใจหรือลบผิดพาร์ติชัน ดังนั้น หากจะทำขั้นตอนนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังและอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อน
7. เมนูของการสร้างพาร์ติชัน (เลือกเมนู 1. จากเมนูหลัก) จะเป็นการสร้างพาร์ติชันแบบต่าง ๆ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับเมนูของการลบพาร์ติชัน คือจะมีการสร้าง Primary DOS Partion, Extended DOS Partition และการสร้าง Logical DOS Drive ใน Extended DOS Partition ปกติแล้วก็จะสร้างเรียงตามลำดับตามต้องการ
8. กรณีที่เลือกสร้าง Primary DOS Partition เป็นอันดับแรก จะมีเมนูถามว่า ต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์สำหรับทำเป็น Primary DOS Partition หรือไม่ หากต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดสร้างเป็น Drive เดียวก็เลือก [Y] แต่ถ้าหากต้องการระบุขนาดต่าง ๆ ของพาร์ติชันด้วยตัวเอง ก็เลือกที่ [N] เพื่อกำหนดขนาดเอง
9. จากรูป ถ้าหากเลือกที่จะกำหนดขนาดของ Primary DOS Partition เองโดยเลือก [N] จากขั้นตอนที่แล้ว จะมีเมนูให้ใส่ขนาดของ Primary DOS Partition ตามต้องการ โดยอาจจะใส่เป็นตัวเลขจำนวนของ MB หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ก็ได้ จากตัวอย่างสมมติว่ากำหนดขนาดเป็น 70% ของจำนวนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ก็ใส่ 70% แล้วกด Enter
10. หลังจากนั้น ก็ทำการสร้าง Extended DOS Partiton จากส่วนของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่เหลือ โดยการเลือกเมนูที่ 2. Create Extended DOS Partition ทำการกำหนดขนาดของพื้นที่ตามที่ต้องการ จากตัวอย่างคือจะใช้พื้นที่ 30% ที่เหลือทั้งหมด โดยการกำหนดขนาดนี้อาจจะใส่เป็ยตัวเลขจำนวน หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ก็ได้แล้วกด Enter
11. หลังจากที่สร้าง Extended DOS Partition แล้วจะมีการแสดงรายละเอียดของการแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ ให้ดูตามรูป
12. ในส่วนของ Logical Drive จะเป็นการสร้างขึ้นภายในของ Extended DOS Partition อีกที ซึ่งการกำหนดขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ก็กำหนดขนาดตามต้องการ หรือถ้าต้องการแบ่งในส่วนของ Extended DOS Partition ออกเป็นหลาย ๆ Drive ก็สามารถทำการกำหนดแบ่งได้จากส่วนของ Logical Drive นี้
13. หลังจากที่ทำการสร้างและจัดแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อกลับมาที่เมนูหลัก จะมีคำเตือนว่าไม่มีการกำหนดพาร์ติชันไหน active อยู่เลย ต้องทำการกำหนดพาร์ติชันที่สร้างขึ้นมาให้เป็น active partition ด้วยเพื่อให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ การกำหนดทำโดยการเลือกที่เมนู 2. Set active partition

14. ใส่หมายเลขของ Partition ที่ต้องการให้เป็น active partition และกด Enter

15. หลังจากที่ทำการกำหนดและแบ่ง Partition ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกจากโปรแกรม FDISK ก็จะมีข้อความเตือนว่า ให้ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก่อน การจัดพาร์ติชันต่าง ๆ จึงจะมีผลและทำการ format ฮาร์ดดิสก์ต่อไป การจัดแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์นี้ โดยปกติแล้ว จะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ลง Windows ใหม่ ซึ่งจะทำการจัดพาร์ติชัน ก็ต่อเมื่อต้องการจัดแบ่งขนาดของฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือต้องการลบข้อมูลให้สะอาดจริง ๆ เนื่องจากเกิดการติดไวรัสเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น และอย่าลืมว่า การทำ FDISK นี้ข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวัง ในการทำทุก ๆ ขั้นตอน และควรมั่นใจว่าหลังจาก format แล้ว คุณยังมี Driver เครื่องของท่านอยู่ครบ

Set BIOS